เจาะ 5 เทรนด์เด่น Digital Marketing สำหรับ SME 2023

          สำหรับตลาดการทำธุรกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าช่องทางออนไลน์ ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการเชื่อมต่อระหว่างร้านค้า SME ของเราและผู้บริโภค เพราะการมีช่องทางหลักช่องทางเดียวในการติดต่อสื่อสาร หรือการสร้างโอกาสการขายไม่เพียงพออีกต่อไปแล้วในปัจจุบัน ซึ่งธุรกิจ SME เอง จึงจะต้องสร้างช่องทางการเข้าถึงสินค้าและบริการให้กับลูกค้าที่หลากหลายอย่างครอบคลุม หรือที่เราเรียกกันว่า “Omni Channel”  (หมายถึง การผสานช่องทางการติดต่อสื่อสารหลายช่องทางกับลูกค้า) ทำให้ลูกค้าไม่ว่าจะเข้ามาเลือกซื้อสินค้าและบริการ หรือสอบถามข้อมูลต่าง ๆ ก็สามารถทำได้อย่างสะดวก ง่ายดาย

           ช่องทางออนไลน์ ก็ถือเป็นช่องทางที่เป็นที่นิยมตามรูปแบบการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน ที่ใช้โซเชียลและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา ทำให้ช่องทางออนไลน์สามารถสร้างโอกาสการขายได้มากกว่า ดังนั้นวันนี้ ไหนดี จึงขอแนะนำ 5 เทรนด์เด่นของกระแส Digital Marketing SME ที่ต้องรู้ จะมีอะไรบ้าง เราไปดูรายละเอียดกันได้เลย

เจาะ 5 เทรนด์เด่น Digital Marketing สำหรับ SME 2023 

1. AI ผู้ช่วยเบื้องหลังความสำเร็จของผู้ประกอบการ

  • การที่ธุรกิจของเรามีเครื่องมือที่ช่วยเก็บข้อมูลความต้องการของลูกค้า ว่าลูกค้าชอบเข้ามาดูสินค้าแบบไหน มีความต้องการอะไร หรือเคยซื้อสินค้าประเภทไหนไปแล้วบ้าง สินค้าไหนที่ถูกซื้อเยอะ ย่อมทำให้ธุรกิจ SME ของเราได้เปรียบคนอื่นเป็นอย่างมาก เพราะเราสามารถใช้ AI คำนวณข้อมูล เพื่อนำมาทำแคมเปญการตลาดสำหรับลูกค้า ที่สามารถเฉพาะเจาะจง และเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าและบริการได้มากขึ้น

2. Personal Marketing

 

  • หรือการตลาดเฉพาะเจาะจงรายลูกค้า ในเมื่อความต้องการของคนเราไม่เหมือนกัน และทางธุรกิจ SME ของเราก็มีข้อมูลของลูกค้าจากการรวบรวมของ AI ตามข้อที่ 1 แล้ว การวางแผนการตลาดสำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีกำลังซื้อสินค้าและบริการของเรา ที่เฉพาะเจาะจงย่อมเพิ่มโอกาสการขาย และสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า รวมถึงยังสร้างโอกาสการกลับมาซื้อซ้ำอีกครั้งนั่นเอง

3. Short Video Marketing

  • ในปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลย ว่ามีแพลตฟอร์มออนไลน์ที่สร้างความบันเทิงหลายอย่างที่เป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน อาทิ TikTok, Facebook Reels, Instagram Reels เป็นต้น ซึ่งผู้คนในปัจจุบันมักใช้เวลาอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ต่อวันอยู่หลายชั่วโมง
  • ดังนั้น การทำการตลาดออนไลน์สำหรับธุรกิจของเราผ่านแพลตฟอร์มวีโอสั้นเหล่านี้ ย่อมสร้างโอกาสในการรับรู้ และโอกาสการขายให้ธุรกิจของเราได้มากกว่า เหมือนกับที่เค้าพูดกันว่า “เห็นบ่อย ๆ แปลว่าดี เห็นบ่อย ๆ ลองซื้อสักที” นั่นเอง

4. การทำการตลาดผ่านบุคคลที่ 3

  • ปัจจุบันนับว่าอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer : กลุ่มบุคคลบนโลกออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ) อาจไม่ใช่คนดังหรือดารา แต่เป็นคนที่ใช้แพลตฟอร์มบนโลกออนไลน์ต่าง ๆ เช่น TikTok ที่มีคนติดตามเยอะ ฯลฯ โดยหากเราส่งสินค้าของเราให้อินฟลูเอนเซอร์เหล่านี้ ให้ทำการรีวิวสินค้าของเรา จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ และสร้างโอกาสการขายได้มากขึ้นกว่าเดิมได้อย่างแน่นอน

5. การมีแพลตฟอร์มตัวจบในการซื้อสินค้าของธุรกิจเอง

  • สำหรับช่องทางออนไลน์ที่เราสร้างมา ซึ่งอาจจะมีหลากหลายช่องทาง แต่ที่สุดแล้วเราจะต้องนำลูกค้าเข้ามาสู่แพลตฟอร์มหลักที่จะเป็นตัวปิดการขายของเรา หรือที่เรียกกันว่า “Landing Platform” ซึ่งหลาย ๆ ธุรกิจเองมักทำเป็นเว็บไซต์ของตนเองมากกว่า เพราะสามารถออกแบบ และสร้างช่องทางการชำระเงินต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสบาย ไม่เหมือนการไปเช่าแพลตฟอร์มของคนอื่น ที่ทั้งเปลี่ยนแปลงบ่อย หรือต้องเสียค่าดำเนินการ เช่น Facebook, Lazada, Shopee เป็นต้น

Natthasit S.

ผู้สนใจและศึกษาในด้านการเงินและการลงทุน, การพัฒนาธุรกิจ ทรัพยากรมนุษย์ และการบริหารองค์กร โดยมีประสบการณ์เป็นที่ปรึกษา Dealer Business Partner Advisor ให้กับกลุ่ม SCG และประสบการณ์ทำงานในบริษัทสินเชื่อเช่าซื้อที่โตโยต้า ลีสซิ่ง Toyota Leasing (Thailand)

ไหนดี
Logo