[ราคา] บัตร BTS,MRT รายเดือน 2566 ราคาเท่าไหร่? แบบไหนคุ้มสุด

บัตร BTS,MRT รายเดือน ราคาเท่าไหร่ ซื้อแบบไหนคุ้มสุด มาดูกัน

แน่นอนว่าการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS และ MRT ช่วยประหยัดเวลาบนท้องถนนได้เป็นอย่างดี เหมาะแก่การหลีกเลี่ยงรถติด จึงเป็นที่นิยมของหลายๆท่านในการเดินทางไปทำงาน ธุระ หรือใช้ในชีวิตประจำวัน มาดูกันว่าบัตร BTS รายเดือน ราคาเท่าไหร่ รวมถึงบัตร MRT รายเดือนราคาเท่าไหร่ แล้วเราควรใช้แบบไหนให้คุ้มสุด

ราคาบัตร BTS รายเดือน

บัตร BTS รายเดือน อาจจะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้ เนื่องจากเป็นบัตรเหมาจำนวนเที่ยวการเดินทาง โดยมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 19 บาท/เที่ยว สำหรับนักเรียน นักศึกษา และ 26 บาท/เที่ยว สำหรับบุคคลธรรมดา มาดูกันว่า บัตร BTS รายเดือนราคาเท่าไหร่ และใช้แบบไหนถึงจะคุ้ม

ก่อนอื่นเลยต้องแนะนำก่อนว่าบัตร BTS รายเดือนจะมีเฉพาะบุคคลธรรมดา และนักเรียน นักศึกษาเท่านั้น ส่วนบัตรผู้สูงอายุจะเป็นแบบเติมเงิน ซึ่งได้รับส่วนลดครึ่งราคาอยู่แล้วครับ โดยบัตร BTS รายเดือน 2563 ราคามี 4 แบบ คือแบบซื้อเหมา 15 เที่ยว, 25 เที่ยว, 40 เที่ยว และ 50 เที่ยว ราคาบัตร BTS รายเดือนแตกต่างกันระหว่างบุคคลธรรมดาและนักเรียนนักศึกษา ดังนี้

บัตร BTS บุคคลธรรมดา บัตร BTS นักเรียน นักศึกษา
  • 15 เที่ยว: 465 บาท (31 บาท/เที่ยว)
  • 25 เที่ยว: 725 บาท (29 บาท/เที่ยว)
  • 40 เที่ยว: 1,080 บาท (27 บาท/เที่ยว)
  • 50 เที่ยว: 1,300 บาท (26 บาท/เที่ยว)
  • 15 เที่ยว: 360 บาท (24 บาท/เที่ยว)
  • 25 เที่ยว: 550 บาท (22 บาท/เที่ยว)
  • 40 เที่ยว: 800 บาท (20 บาท/เที่ยว)
  • 50 เที่ยว: 950 บาท (19 บาท/เที่ยว)

บัตรรายเดือนนี้เป็นบัตรเติมเที่ยวรายเดือน ขายเป็นราคาเหมา ซึ่งราคา/เที่ยวในตารางจะเป็นราคาเฉลี่ยต่อเที่ยว หมายความว่า ถ้าเราใช้ไม่ครบตามจำนวนเที่ยวที่ซื้อ ก็เหมือนเราจ่ายค่าเดินทางต่อครั้งแพงขึ้น

เช่น หากเราซื้อบัตร BTS รายเดือน 25 เที่ยวที่ราคา 725 บาท แบบบุคคลธรรมดา แต่เราเดินทางเพียง 15 เที่ยว เท่ากับว่าจริงๆแล้วเราจ่ายเงินไปเที่ยวละ 48 บาทเลยทีเดียว

ซื้อแบบไหนคุ้มสุด

การที่จะเลือกว่าซื้อแบบไหนคุ้มสุด ขึ้นอยู่กับว่าโดยปกติแล้วเราเดินทางใน 1 เดือนเฉลี่ยกี่บาท กี่ครั้งโดยปกติแล้วการเดินทางใน BTS หากเดินทางในเส้นทางหลัก (ที่ไม่ใช่ส่วนต่อขยาย) 1 สถานี จะมีค่าใช้จ่าย 16 บาท, 2 สถานี: 23 บาท, 3 สถานี: 26 บาท, 4 สถานี: 30 บาท หากปกติเดินทางครั้งนึง แพงกว่า ราคาเฉลี่ยต่อเที่ยว และสามารถใช้บัตรนั้นครบหมดก็จะคุ้ม

บัตร bts รายเดือน 2562 ราคา 40 เที่ยว เปรียบเทียบกับเติมเงินทั่วไป 40 เที่ยว

ตัวอย่างแรก: หากใช้เป็นการเดินทางไปทำงานไป-กลับทุกวัน จันทร์-ศุกร์ แปลว่าใน 1 เดือน จะมีวันทำงานประมาณ 22 วัน และต้องใช้เดินทาง 44 ครั้ง ในกรณีนี้ถ้าเดินทางมากกว่า 4 สถานี เราจะแนะนำให้ซื้อบัตร BTS รายเดือน แบบ 40 เที่ยว ราคา 1,080 บาท ไปเลย

สาเหตุที่แนะนำแบบนั้นเพราะ เดินทาง 4 สถานีแบบปกติจะราคา 30 บาท/เที่ยว แต่ซื้อตั๋วเดือน 40 เที่ยว จ่ายเพียง 27 บาท/เที่ยว ยิ่งถ้าคุณเดินทางมากกว่า 4 สถานีแล้วก็ยิ่งประหยัดไปอีก ทั้งนี้ต้องใช้ให้หมดท้ัง 40 เที่ยวถึงจะคุ้ม

บัตร bts รายเดือน 2562 ราคา 50 เที่ยว เปรียบเทียบกับเติมเงินทั่วไป 50 เที่ยว

ตัวอย่างที่ 2: หากคุณเดินทางด้วย BTS ไปทำงานประจำในวันธรรมดา และวันเสาร์ด้วย โดยเดินทางมากกว่า 3 สถานีหลักที่ไม่ใช่ส่วนต่อขยาย เท่ากับว่าใน 1 เดือนคุณจะเดินทางประมาณ 52 ครั้ง บัตร BTS รายเดือน ราคา 1,300 บาทที่ใช้ได้ 50 เที่ยวก็จะเหมาะสมมากๆในกรณีนี้

สำหรับบัตร BTS รายเดือน จะเป็นโปรโมชั่นที่ใช้ในส่วน 25 สถานีเดิมของ BTS ส่วนสถานีส่วนต่อขยาย (เช่นโพนิมิตร-บางหว้า, บางจาก-เคหะ) จะคิดเงินแยก เสียเงินเท่ากันหมด ถึงใช้ บัตร bts รายเดือน ส่วนต่อขยายก็จะหักค่ารถไฟฟ้าจากการเติมเงินของเรา

บัตร BTS รายเดือน ซื้อที่ไหน: ซื้อได้ที่สถานี BTS กับเคาน์เตอร์พนักงานได้เลย
โปรโมชั่น: การเติมเที่ยวบัตร BTS มักจะมีโปรโมชั่นบัตรเครดิตอยู่เป็นประจำ เช่น บัตรเครดิต ยูโอบี โยโล่ แพลตินั่ม (รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 10%), บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตินั่ม (รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 11%) และบัตรเครดิตจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา
บัตร bts รายสัปดาห์ มีไหม: บัตร BTS ไม่ได้ออกบัตรประเภทบัตรรายสัปดาห์ จะมีแต่บัตร bts รายเดือนและบัตร bts รายวันเท่านั้น

ราคาบัตร MRT เติมเงิน,รายเดือน

ปัจจุบันการทําบัตร mrt สามารถใช้เป็นบัตรเติมเงินได้ โดยเมื่อถามว่าทําบัตร mrt เท่าไหร่นั้น คำตอบคือ 180 บาทซึ่งมาจาก การเติมเงินขั้นต่ำที่ 100 บาท + ค่ามัดจำบัตร 50 บาท + ค่าธรรมเนียมออกบัตร 30 บาท

ส่วนบัตร MRT รายเดือนนั้น ในอดีต รถไฟฟ้า MRT เคยมีบัตรเหมาเดือนไปแล้ว และก็ได้ยกเลิกไป แต่ในขณะที่ปัจจุบัน รฟม ก็มีมาตรการลดค่ารถไฟฟ้าเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ตามนโยบายของ รมว.คมนาคม เมื่อปลายปี 2562 ที่จะนำตั๋วเดือนกลับมาทดลองใช้ ในแบบบัตร MRT รายเดือน 30 วัน เหมาเที่ยว

ซึ่งบัตร MRT ธันวาคม 2562-ต้นปี 2563 รายเดือน ราคาจะเริ่มต้นตั้งแต่ 47 บาท ถึง 52 บาทต่อเที่ยว คิดเป็นราคาตั้งแต่ 780 บาท ถึง 2,350 บาท เริ่มต้น 25 ธันวาคม 2562 ดังนี้

(อัพเดทในมกราคม 2564 ยังไม่พบบัตร MRT รายเดือนเปิดขาย โดยไหนดีสอบถามเข้าไปยัง MRT พบว่าเมื่อได้รับการอนุมัติจะประชาสัมพันธ์ให้ทราบต่อไป)

บัตร MRT รายเดือน 2562 ราคา 15-50 เที่ยว ตามมติ รฟม. 2562

บัตรเที่ยวของ MRT นี้ หากเดินทาง 50 เที่ยว และเดินทางเชื่อม MRT 2 สาย (สายสีน้ำเงิน-สีม่วง) เป็นประจำทุกวันจันทร์-เสาร์  จากปัจจุบันค่าโดยสารสูงสุด 70 บาท ก็จะลดลง 23 บาท คิดเป็น 32% เลยทีเดียว เช่นการเดินทางจาก MRT เซ็นทรัลเวสเกตไปสุขุมวิท มีค่าใช้จ่ายสูงถึง 70 บาทเลย

แต่หากเดินทางอยู่ในรถไฟฟ้า MRT สายเดียวกัน ตรวจสอบดูแล้วราคาสูงสุด (MRT หลักสองไปบางซื่อ) จะอยู่ที่ 42 บาท  ใช้บัตร MRT รายเดือน ก็จะไม่คุ้มสักเท่าไหร่

ในขณะที่บัตร mrt รายเดือน นักเรียน โปรโมชั่นด้านบนนี้จะเป็นโปรเฉพาะบัตรบุคคลทั่วไป บัตรโดยสารธุรกิจ และบัตรร่วมธุรกิจเท่านั้น ซึ่งแน่นอนถ้าเดินทางแค่ในสาย MRT เดียวกัน บัตรนักเรียนที่ได้ลด 10% อยู่แล้วย่อมคุ้มกว่าบัตร MRT รายเดือน

สรุป: ไม่ว่าคุณจะเดินทางด้วยบัตร BTS รายเดือน, บัตร MRT รายเดือน หรือบัตรเติมเงินปกติด้วยบัตร Rabbit, บัตร ATM Rabbit ธนาคารกรุงเทพ, บัตร ATM แมงมุม ธนาคารกสิกรไทย หรือวิธีไหนก็แล้วแต่ การคาดคะเนปริมาณการใช้งานและเลือกซื้อบัตรที่คุ้มค่ากับตนเองที่สุด จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ดีเลยทีเดียว รวมถึงโปรโมชั่นบัตรเครดิตต่างๆ ก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ระดับหนึ่ง

อ้างอิง: BTS, MRTบัตร Rabbit, ข้อมูลราคาบัตร BTS รายเดือน 2564 เมื่อ 20 ม.ค. 2564 และบัตร MRT รายเดือน 2562 เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. 2562, ศูนย์บริการข้อมูลรถไฟฟ้า เมื่อ 10 มกราคม 2563, Icon by Freepik, บัตรเครดิต UOB โยโล่, บัตรเครดิตซิตี้แบงค์ Cash Back, บัตรเครดิต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, pantip.com/topic/36489210, โปรดตรวจสอบราคาและโปรโมชั่นจากเจ้าหน้าที่สถานีอีกครั้งหนึ่ง

ไหนดี Champ

แชมป์ (Champ) ผู้ที่อยู่ในวงการการเงิน และเศรษฐศาสตร์ มีความชอบในการเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้กับผองเพื่อนและคนรู้จัก เกิดมาเป็นการนำมาเผยแพร่ทางเลือกดีๆในสาธารณะ จบการศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ ปัจจุบันร่วมเป็นหนึ่งในนักเขียนประจำเว็บไซต์ไหนดี

ไหนดี
Logo