การเป็นหนี้เป็นสิน อาจเป็นสภาวะที่หลายคนไม่อยากจะเจอในชีวิตแต่ในเมื่อสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตพาเราไปถึงจุดที่ต้องกู้ยืมเงินคนอื่นมาใช้จ่ายทั้งในรูปแบบของ สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด ซึ่งหายคนสามารถชำระผ่อนจ่ายคืนได้ตามปกติ แต่ยังมีอีกหลายคนที่ไม่สามารถผ่อนชำระคืนได้ ทำให้เกิดภาวะหนี้เสียหรือ NPL ขึ้นซึ่งก่อให้เกิดผลเสียตามมามากมาย ทั้งถูกเจ้าหนี้ฟ้องร้อง ถูกยึดทรัพย์ หรือส่งผลต่อเครดิตของเราเองในอนาคต ด้วยเหตุผลนี้เองทางธนาคารแห่งประเทศไทย และสามาคมธนาคารไทยจึงได้จัดทำโครงการร่วมกันที่ชื่อว่า “คลินิกแก้หนี้” เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น
คลินิกแก้หนี้คืออะไร ?
คลินิกแก้หนี้เป็นโครงการโดยความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทยก่อตั้งคลินิกแก้หนี้ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้เสีย ประเภทหนี้ส่วนบุคคลไม่มีหลักประกันของลูกหนี้รายย่อย (หนี้บัตรเครดิต,หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล) โดยทำการมอบหมายให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท (บสส.) SAM เป็นตัวกลางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาระหว่างธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้ และลูกหนี้รายย่อยทั่วไป
คลินิกแก้หนี้มีวิธีการดำเนินการอย่างไร ?
- เป็นตัวกลางในการเจรจารระหว่างธนาคารเจ้าหนี้ และลูกหนี้เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้เสีย NPL ร่วมกัน
- ให้คำแนะนำและวางแผนการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้
- ทำการรวมหนี้ของลูกหนี้เป็นก้อนเดียวกับเจ้าหนี้รายเดียว ผ่อนชำระต่ำ ดอกเบี้ยถูก
- ให้ความรู้กับลูกหนี้เพื่อไม่ให้กลับไปสู่วงจรการเป็นหนี้ซ้ำอีก
เกณฑ์การสมัครเข้าร่วมโครงการคลินิกแก้หนี้ ?
- เป็นบุคคลอายุ 20 – 70 ปีบริบูรณ์
- มีรายได้แน่นอน
- เป็นหนี้เสียบัตรเครดิต , บัตรกดเงินสด , สินเชื่อส่วนบุคคล
- เป็นหนี้เสีย NPL (ค้างชำระเกิน 91-120 วันก่อน 1 กุมภาพันธ์ 2564)
- ยอดหนี้รวมกับสถาบันการเงินทุกธนาคารต้องไม่เกิน 2 ล้านบาท
- ยินยอมทำตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ทางคลินิกแก้หนี้กำหนด
ข้อดี – ข้อเสีย ของ คลินิกแก้หนี้ ?
ข้อดี | ข้อเสีย |
1. รวมหนี้ได้เป็นก้อนเดียว | 1. ต้องเป็นหนี้เสีย NPL เท่านั้น (ขาดส่งเกิน 90 วัน) |
2. ผ่อนชำระต่ำ ดอกเบี้ยถูก | 2. ไม่ครอบคลุมถึงหนี้นอกระบบ |
3. มีเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ด้านการปลดหนี้ | |
4. ผ่อนชำระได้ถึง 10 ปี |
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าคลินิกแก้หนี้นั้น มีข้อดีมากมาย เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังเป็นกังวลในเรื่องของความสามารถในการชำระหนี้ของตนเอง โดยเมื่อรู้ตัวว่าหนี้สินของตนเป็นหนี้เสียแล้ว ควรรีบติดต่อเข้าร่วมโครงการเพื่อขอความช่วยเหลือ และหาทางปลดหนี้ร่วมกันกับคลินิกแก้หนี้ต่อไปเพราะการเข้าโครงการดังกล่าวนอกจาก จะมีระยะเวลาการผ่อนชำระได้ยาวนาน ดอกเบี้ยถูก และรวมหนี้เราเป็นก้อนเดียวทำให้ปลดหนี้ได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ท่านไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้อง ยึดทรัพย์ หรือกลายเป็นบุคคลล้มละลาย เพราะไม่สามารถชำระหนี้ได้
สถาบันทางการเงินหรือธนาคารไหน เข้าร่วมโคลินิกแก้หนี้บ้าง?
ในปัจจุบันมีธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินในประเทศไทยเข้าร่วมโครงการกับทางคลินิกแก้หนี้มากกว่า 33 แห่งได้แก่
- กลุ่มประเภทธนาคาร
- ธนาคารกรุงเทพ
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารกสิกรไทย
- ธนาคาร TTB
- ธนาคาร CIMB
- Citi bank
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
- ธนาคารไทยเครดิต
- ธนาคารทิสโก้
- ธนาคาร ICBC
- ธนาคาร LH Bank
- ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคาร UOB
- ธนาคาร Bank of China
- ธนาคารกรุงไทย
- กลุ่มประเภทสถาบันการเงินอื่น
- บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด
- บริษัท เจนเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด
- บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด
- บริษัท เทสโก้ คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด
- บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์(ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
- บริษัท อีซี่ บาย จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ซิตี้คอร์ปลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
- บริษัท พรอมิส (ประเทศไทย) จำกัด
- บริษัท ซัมมิท แคปปิตอล จำกัด
- บริษัท ไอร่า แอนด์ ไอฟุล จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ไอทีทีพี จำกัด
- บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)
- บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
- บริษัท เจ ฟินเทค จำกัด
- บริษัท แมคคาเล กรุ๊พ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท จี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
- บริษัท นครหลวง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)