เงินผู้สูงอายุ (เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ/เงินคนแก่) เป็นสิทธิตามกฎหมายที่ผู้สูงอายุพึงจะได้รับเพื่อใช้ในการยังชีพ คล้ายกันกับเบี้ยผู้พิการ โดยกรมบัญชีกลางจะจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเข้าบัญชีเงินฝากของผู้มีสิทธิ์โดยตรง ที่ยอดเงิน 600-1,000 บาทต่อเดือน (อัพเดท 2565)
เงินผู้สูงอายุ 2565 เข้าวันไหน (เงินคนแก่)
เงินผู้สูงอายุ และเงินผู้พิการมีกำหนดวันที่โอนเงินเข้าบัญชีโดยกรมบัญชีกลาง ให้กับผู้ที่มีสิทธิรับเงินสวัสดิการสังคม ตามปฎิทินการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และเบี้ยความพิการ ดังนี้
- ตุลาคม 2565 โอนเข้าบัญชี 10 ตุลาคม 2565
- พฤศจิกายน 2565 โอนเข้าบัญชี 10 พฤศจิกายน 2565
- ธันวาคม 2565 โอนเข้าบัญชี 9 ธันวาคม 2565
เช็คเงินผู้สูงอายุ เงินผู้พิการ 2565 เงินไม่เข้าทำไง
เนื่องจากว่าทางกรมบัญชีกลางได้ปรับเปลี่ยนการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ/เงินเบี้ยความพิการ โดยเบิกจ่ายเงินอุดหนุนแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ผ่านระบบ e-Payment เริ่มต้นปี 2563 โดยจ่ายเงินผ่านการใช้ฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม
ดังนั้นหากไม่ได้รับเงินผู้สูงอายุ/เงินผู้พิการ สามารถไปติดต่อที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเทศบาล หรือ อบต. เพื่อทำการปรับปรุงข้อมูล
โดยโฆษกกรมบัญชีกลางได้กล่าวไว้ว่า “หากในวันที่ 10 มกราคม 2563 ผู้มีสิทธิรายใดตรวจสอบแล้วพบว่ายังไม่ได้รับเงินโอนเข้าบัญชีฯ ขอให้ผู้มีสิทธินำสมุดบัญชีธนาคารไปติดต่อที่ อปท. ในพื้นที่ เพื่อให้ อปท. ทำการปรับปรุงข้อมูล และทำรายการตกเบิกเพื่อให้ได้รับเงินในเดือนถัดไป”
ซึ่งหากเคยลงทะเบียนเงินผู้สูงอายุไปแล้วและไม่ได้มีการย้ายภูมิลำเนา ก็ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนซ้ำ เพียงแค่ไปปรับปรุงข้อมูลเท่านั้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานสวัสดิการสังคม สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2245 5166
ส่วนผู้ที่เงินไม่เข้าแค่เดือนนี้เดือนเดียว บางครั้งจะเกิดมาจากระบบของรัฐที่มีความล่าช้าในการจ่าย ดังตัวอย่างในอดีต เช่น
- ในเดือน เช่น กันยายน 2563 เงินไม่เข้าและสุดท้ายรัฐแจ้งว่าจะทำโอนภายใน 17 กันยายน 2563
- ช่วงตุลาคมบางปี มีการเปลี่ยนแปลงปีงบประมาณของรัฐ จึงจ่ายเงินได้ไม่ทัน
เงินผู้สูงอายุ ได้เท่าไหร่ สมัครยังไง
เงินผู้สูงอายุ ถือเป็นสิทธิผู้สูงอายุตามกฎหมายเพื่อที่จะได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ซึ่งเงินผู้สูงอายุได้เท่าไหร่นั้นก็จะปรับสูงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น และสามารถสมัครได้ที่หน่วยงานตามทะเบียนบ้าน ตามรายละเอียดดังนี้
เงินผู้สูงอายุได้เท่าไหร่
ผู้สูงอายุไม่ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ อปท. จะได้รับเงินเบี้ยยังชีพรายเดือนตลอดชีวิตเป็นขั้นบันไดดังนี้
- อายุ 60-69 ปี ได้รับเงินผู้สูงอายุ 600 บาท/เดือน
- อายุ 70-79 ปี ได้รับเงินผู้สูงอายุ 700 บาท/เดือน
- อายุ 80-89 ปี ได้รับเงินผู้สูงอายุ 800 บาท/เดือน
- อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเงินผู้สูงอายุ 1,000 บาท/เดือน
เงินผู้สูงอายุสมัครยังไง
ผู้สูงอายุสัญชาติไทย ที่มีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์คืออายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป และไม่เคยได้รับสิทธิ์ประโยชน์จากหน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ว่าจะเป็นเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ รวมถึงเงินอื่น ๆ สามารถลงทะเบียนรับเงินผู้สูงอายุได้ดังนี้
- ถ้าเคยสมัครเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุมาแล้ว ไม่จำเป็นต้องสมัครใหม่ในทุก ๆ ปี ยกเว้นว่าถ้ามีการย้ายภูมิลำเนา ให้ไปสมัครใหม่ในพื้นที่ของท่าน
- ในกรณีที่ไม่เคยลงทะเบียนหรือย้ายภูมิลำเนา ให้สมัครได้ที่สำนักงานเขต, เทศบาล, อบต. ตามทะเบียนบ้าน
- สามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นไปยื่นลงทะเบียนแทนได้
และทำการเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ดังนี้คือ
- บัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนาอย่างละ 1 ฉบับ
- สมุดบัญชีธนาคารออมทรัพย์ พร้อมสำเนา
- หากมอบอำนาจ ให้เตรียมหนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชน/สำเนาทะเบียนบ้านทั้งผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
- ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องในสำเนาทุกฉบับ
โดยการลงทะเบียนรับเงินผู้สูงอายุในปี 2564 จะเป็นการลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับเงินในปีงบประมาณ 2565 (ตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) ดังนั้นการลงทะเบียนจะเฉพาะผู้ที่ เกิดก่อน 2 กันยายน 2505
อย่างไรก็ตามหากผู้สูงอายุท่านไหนลงทะเบียนรอบก่อนหน้านี้ไม่ทัน ก็สามารถมาลงทะเบียนเพื่อรับเงินในปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) ซึ่งเปิดรับลงทะเบียนรอบใหม่แล้ว ตั้งแต่วันนี้ ถึง กันยายน 2565
เงินผู้สูงอายุ/พิการ มีกำหนดเงินเข้าไหม
เงินผู้สูงอายุ/พิการ เดือนนี้ยังไม่เข้า ทำไง
เงินผู้สูงอายุ/พิการ ไม่เข้ามาหลายเดือน ทำยังไง
ที่มา ข่าวแจกกรมบัญชีกลาง ฉบับที่ 30/2563, หลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ, เฟสบุคกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กรมบัญชีกลาง, กรมกิจการผู้สูงอายุ