ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย
เช็คเงินสะสมประกันสังคม มาตรา 39,33
การตรวจสอบเงินสะสมประกันสังคม สามารถเช็คได้จากระบบเช็คสิทธิประกันสังคม เป็นระบบในเว็บไซต์ทำได้เลยโดยไม่ต้องโหลดแอพด้วย ดังนี้
สิ่งที่ต้องมี
- หมายเลขบัตรประชาชน (13 หลัก)
- เบอร์โทรศัพท์ของเราและข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล วันเกิด อีเมล
ขั้นตอนการเช็คเงินสะสมประกันสังคม
- เข้าสู่เว็บไซต์ ระบบสมาชิก ผู้ประกันตน และกดสมัครสมาชิก (ถ้าเป็นสมาชิกอยู่ก่อนแล้วสามารถล็อคอินและข้ามไปข้อ 5 ได้เลย)
- ระบบจะให้กดยอมรับข้อตกลง แล้วเข้าสู่ระบบ
- กรอกข้อมูลส่วนตัวและเลขบัตรประชาชน แล้วกดถัดไป
- ระบบจะให้ยืนยันตัวตนผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยกดปุ่มขอรหัส OTP แล้วให้ไปเข้าสู่ระบบเช็คประกันสังคม โดยใช้เลขบัตรประชาชนและรหัสผ่านที่ตั้งไว้
- เข้าสู่ระบบแล้วหน้าจอจะพาไปที่หน้า “ตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตน” กดที่ “การคำนวณเงินสงเคราะห์ชราภาพ” เพื่อทำการเช็คเงินสะสมประกันสังคม
- เข้าสู่หน้าแสดงเงินสงเคราะห์ชราภาพ
- แสดงตารางยอดเงินที่เราสมทบร่วมกับนายจ้างและรัฐบาลขึ้นมาในแต่ละปี
- ข้อมูลในบรรทัดสุดท้าย “ช่องยอดเงินรวม” จะเป็นยอดเงินสะสมประกันสังคมที่เราต้องการตรวจสอบนั้นเอง
จะเห็นว่าไม่ว่าจะต้องการเช็คเงินสะสมประกันสังคม มาตรา 39 หรือมาตรา 33 ก็สามารถใช้ระบบนี้ตรวจเช็คเงินสะสมจากประกันสังคมได้เลย เนื่องจากระบบได้รวมไว้ให้แล้วในหน้านี้
ซึ่งเราก็จะสามารถตรวจสอบดูเงินสะสมประกันสังคมแยกเป็นเงินที่มาจากเงินกองที่เราจ่ายสมทบแต่ละเดือน, เงินที่มาจากนายจ้าง และเงินที่มาจากรัฐบาล (ถ้ามี) ได้จากตารางคำนวณเงินสงเคราห์ชราภาพเลย
เงินสะสมประกันสังคม ทำอะไรได้บ้าง คำนวณยังไง
ถึงแม้หลายๆท่านอาจต้องการตรวจสอบเงินประกันสังคมว่านายจ้างมีการจ่ายตรงไหม แต่ก็มีอีกข้อดีหนึ่งของก็คือการได้เช็คเงินชราภาพประกันสังคม เนื่องจากว่ายอดเงินประกันสังคมจะนำไปเป็นเงินสมทบชราภาพ ดังนั้นการตรวจเช็คเงินสะสมจากประกันสังคม ก็คือการเช็คยอดเงินประกันสังคมสะสมชราภาพนั้นเอง
โดยเงินสะสมชราภาพนี้เราจะได้เมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์ และออกจากระบบประกันสังคมแล้ว (ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง)
โดยเงินชราภาพนี้ (ที่เราเช็คเงินประกันสังคม อายุ 55 ไปก่อนหน้านี้) จะแบ่งออกเป็นเงินบำเหน็จชราภาพ และเงินบำนาญชราภาพตามระยะเวลาที่จ่ายเงินสะสมคือ
- ได้รับ เงินบำเหน็จชราภาพ (เงินก้อน) ถ้าจ่ายเงินสะสมประกันสังคมไปไม่ครบ 15 ปี (180 เดือน)
- ถ้าจ่าย 1-11 เดือนจะได้จากเงินสมทบผู้ประกันตนอย่างเดียว (เงินสะสมที่เราเป็นคนจ่าย)
- ถ้าจ่าย 12-179 เดือนจะได้จากเงินสมทบผู้ประกันตน (เงินสะสมที่เราเป็นคนจ่าย) + เงินสมทบจากนายจ้าง + ผลประโยชน์ตอบแทน
- หรือถ้าจ่ายเงินสะสมประกันสังคมมากกว่า 15 ปี (180 เดือน) ก็จะได้เป็นเงินบำนาญชราภาพ (เงินรายเดือน) แทน
- โดยคิดเงินบำนาญชราภาพจาก 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่นำส่งเงินสมทบ
- และถ้าจ่ายเงินสมทบมาเกิน 180 เดือนจะบวกให้อีกปีละ 1.5%
ซึ่งทางประกันสังคมเองก็ได้ทำภาพรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิประกันสังคมกรณีชราภาพไว้ได้ดีเลย รวมถึงวิธีคำนวณด้วย ดังนี้
อ้างอิง ประกันสังคม, ประกันสังคม