สิทธิรักษาพยาบาลประกันสังคม เป็นสิทธิของผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 (ลูกจ้าง) และมาตรา 39 (ประกันตนเองหลังลาออก) ที่เราสามารถไปหาหมอตามสิทธิรักษาพยาบาลประกันสังคมได้ ที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม แล้วจะเช็คโรงพยาบาลประกันสังคมว่าอยู่โรงพยาบาลไหนยังไง ไหนดี (Nhaidee) มีคำตอบ
วิธีเช็คโรงพยาบาล ประกันสังคม
สิ่งที่ต้องมี
- หมายเลขบัตรประชาชน (13 หลัก)
- เบอร์โทรศัพท์และข้อมูลส่วนตัวของเรา เช่น ชื่อ นามสกุล วันเกิด อีเมล
ขั้นตอนการเช็คโรงพยาบาลประกันสังคม
ขั้นตอนแรก: เข้าสู่เว็บไซต์ ระบบสมาชิก ผู้ประกันตน แล้วกดสมัครสมาชิกเว็บ (ถ้าเป็นสมาชิกอยู่ก่อนแล้ว เข้าสู่ระบบและข้ามไปอ่านข้อ 5 ได้เลย)
ขั้นตอนที่ 2: กดยอมรับข้อตกลงแล้วกดปุ่มถัดไป จะเข้าสู่ขั้นตอนที่ 3 ให้กรอกข้อมูลส่วนตัวตามบัตรประชาชน ต่อไป
ขั้นตอนที่ 4: กดปุ่มขอรหัส OTP เพื่อยืนยันตัวผ่านโทรศัพท์ จากนั้นนำรหัสที่ได้รับข้อความมากรอกเพื่อยืนยันตัวตน จากนั้นไปเข้าสู่ระบบเช็คโรงพยาบาลประกันสังคม ด้วยเลขบัตรประชาชนและรหัสผ่านที่ตั้งไว้ในข้อ 2
ขั้นตอนที่ 5: หลังเข้าสู่ระบบ ระบบจะพาไปที่หน้า “ตรวจสอบข้อมูลผู้ประกันตน” สามารถเช็คโรงพยาบาล ประกันสังคมว่าสิทธิประกันสังคมอยู่โรงพยาบาลไหน ได้เลย จะมีแจ้งในระบบว่าสิทธิปัจจุบันอยู่โรงพยาบาลอะไร เริ่มสิทธิเมื่อไหร่ ถึงเมื่อไหร่
หาหมอโรงพยาบาลอื่น ได้ไหม?
การใช้สิทธิรักษาพยาบาลประกันสังคมนั้น ในการเจ็บป่วยทั่วไปนั้นกำหนดให้ไปหาหมอได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม แต่ก็มีข้อยกเว้นบางกรณีดังนี้คือ
- ในกรณีเจ็บป่วยทั่วไป ไปหาหมอได้ตามโรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม (ที่เช็คข้างบน) ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
- กรณีฉุกเฉิน/อุบัติเหตุ หาหมอได้ที่โรงพยาบาลของรัฐ และเอกชน
- โรงพยาบาลรัฐ เบิกได้ตามจริงและจำเป็น
- ถ้าแอดมิท ให้ค่าห้อง/อาหารโรงพยาบาลรัฐ เบิกได้ไม่เกิน 72 ชั่วโมง เบิกได้สูงสุด 700 บาทต่อวัน
- โรงพยาบาลเอกชน หาหมอทั่วไปเบิกได้ตามจริง ไม่เกิน 1,000 บาทต่อครั้งและอาจต้องจ่ายเพิ่มบางรายการ
- ถ้าแอดมิทโรงพยาบาลเอกชน เบิกค่ารักษาได้ไม่เกิน 2,000 บาท และค่าห้องค่าอาหารไม่เกิน 700 ต่อวัน
- เบิกค่ารักษาพยาบาล ภายใน 90 วันนับจากวันที่จ่าย
- เจ็บป่วยฉุกเฉินขั้นวิกฤต เช่น หมอสติ ชัก แขนขาอ่อนแรง ไปสถานพยาบาลได้ทุกที่ ไม่ต้องสำรองจ่ายจนกว่าจะพ้นวิกฤตใน 72 ชั่วโมง
ใครมีสิทธิรักษาพยาบาล ประกันสังคม
คุณจะมีสิทธิรักษาพยาบาลก็ต่อเมื่อเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 (ลูกจ้าง) และมาตรา 39 (ประกันตนเองหลังลาออก) ดังนี้
- เมื่อจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเข้าหาหมอ
- หรือ ลาออกจากประจำสังคงมาไม่เกิน 6 เดือน
เปลี่ยนโรงพยาบาล ประกันสังคม ยังไง ได้กี่ครั้ง
การเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมนั้น จะมี 2 แบบ คือการย้ายแบบรอบปกติ กับการย้ายจากการมีเหตุจำเป็น ดังนี้
เปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม ตามเหตุจำเป็น
ถ้าเรามีเหตุจำเป็นในการขอเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม เช่น ย้ายที่อยู่ ย้ายที่ทำงานประจำ หรือพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้เลือกโรงพยาบาลประกันสังคมเองแล้วไม่ต้องการไปที่ที่กำหนดให้ ก็สามารถเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมได้โดยไม่ต้องรอรอบเปลี่ยนระหว่างปี
โดยให้ยื่นเรื่องขอเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม ภายในระยะเวลา 30 วัน จากวันที่ย้ายที่พัก หรือย้ายที่ทำงานประจำ สามารถกดเปลี่ยนออนไลน์ได้ โดยเลือกเหตุผลการเปลี่ยนสถานพยาบาลเป็น “ย้ายที่อยู่”

ภาพตัวอย่างระบบเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมใน sso.go.th
เปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม ตามรอบ
นอกจากการทางสำนักงานประกันสังคมจะเปิดโอกาสให้เรา สามารถกดขอเปลี่ยนโรงพยาบาลได้ใหม่ทุกปี ปีละ 1 ครั้ง โดยสามารถเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมผ่านช่องทางออนไลน์ หรือยื่นเอกสารขอเปลี่ยนประกันสังคมก็ได้ และในปี 2565 นั้น ทางประกันสังคมได้เปิดให้เปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคมได้ตั้งแต่ 16 ธันวาคม 2565 จนถึง 31 มีนาคม 2566