โดนหลอกให้โอนเงินใน Facebook ทำอย่างไร แจ้งความที่ไหน

เทคโนโลยีทางการสื่อสารของมนุษย์เราได้ก้าวไปไกลกว่าเดิมมากมาย มีช่องทางการสื่อสารต่างๆ ที่เข้ามารองรับและตอบสนองความต้องการในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันหลายประเภท เมื่อเหล่าบรรดามิจฉาชีพเห็นช่องทางในการหลอกลวงในโลกออนไลน์ อาจทำให้ผู้หลงเชื่อให้ตกเป็นเหยื่อได้โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหลอกโอนเงิน

โดนหลอกโอนเงินใน Facebook ทำไง

ถ้ารู้ตัวแล้วเราเราเป็นหนึ่งในเหยื่อที่โดนมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงินแล้ว ให้ทำดังนี้

  1. เตรียมเอกสาร เมื่อรู้ตัวว่าโดนหลอกให้รีบตั้งสติ การร้องไห้เสียใจหรือโทษตัวเองไม่มีประโยชน์ สิ่งแรกที่ต้องทำคือการเก็บหลักฐานทุกอย่างเพื่อรีบไปแจ้งความดำเนินคดี
    1. หลักฐานการโอนเงิน
    2. ข้อความที่คุยกับมิจฉาชีพ
    3. ข้อความประกาศขายสินค้า
    4. เลขบัญชีธนาคาร พร้อมชื่อ นามสกุล ของผู้ที่เราโอนเงินไปให้ แคปหน้าจอไว้ แล้วปริ้นท์ออกมาเป็นหลักฐาน
    5. บัตรประชาชนของเรา
  2. แจ้งความดำเนินคดี หลังจากได้หลักฐานแล้วให้ไปโรงพักใกล้บ้าน หรือกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) เพื่อแจ้งความ สามารถแจ้งขอให้อายัดบัญชีผู้ที่เราโอนเงินไปให้ และให้ดำเนินคดีได้ด้วย (อย่าแจ้งแค่ว่าขอให้ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน)
  3. แจ้งธนาคารเจ้าของบัญชีคนร้ายที่เราโอนเงินไปให้ เพื่อให้ธนาคารทำการอายัดเงินในบัญชีของคนร้ายทั้งหมด ทำให้คนร้ายไม่สามารถถอนเงินออกมาได้ โดยหลักฐานที่ต้องนำไปมีดังนี้
    1. สำเนาหลักฐานใบแจ้งความ
    2. คำสั่งอายัดบัญชี
    3. หน้าสมุดบัญชี หรือเลขบัญชี พร้อมชื่อ นามสกุล เจ้าของบัญชีที่เป็นคนร้าย
    4. สำเนาบัตรประชาชนของเรา
  4. รอขั้นตอนการดำเนินการตามกฎหมาย โดยหลังจากนี้จะเป็นขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการออกหมายเรียก คนร้ายหรือติดตามจับกุมตัวมาดำเนินการส่งฟ้องศาลต่อไป ให้เราประสานงานไปที่ร้อยเวรเจ้าของคดี เพื่อติดตามความคืบหน้า

ทำอย่างไรไม่ให้ตกเป็นเหยื่อการหลอกหลวง ให้โอนเงิน

  1. ปรับ Mindset ของฟรีไม่มีในโลก ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ อย่าโลภจนลืมคิดวิเคราะห์เหตุผล
  2. ตรวจสอบข้อมูลให้แน่ใจ หากมีคนรู้จักแชทมายืมเงินให้ใช้วิธีโทรกลับไปถามต้นทางก่อนเพื่อยืนยันว่าเป็นคนรู้จักเราจริง หรือหากเป็นการซื้อสินค้า ให้ซื้อกับร้านค้าที่น่าเชื่อถือ เปิดมานาน มีคนรีวิวให้เครดิตร้าน
  3. ให้ข้อมูลส่วนตัวทของเรากับบริษัท บุคคลที่น่าเชื่อถือ และให้เท่าที่จำเป็น การให้เลขบัตรประชาชน , เลขบัญชีธนาคาร , บัตรเครดิต ไม่ควรให้กับบุคคลที่ไม่รู้จัก หรือไม่น่าเชื่อถือ เพราะมีความเสี่ยงที่จะถูกนำไปโจรกรรมข้อมูลทางการเงิน
  4. เปลี่ยนรหัส Facebook ตามระยะเวลาที่เรากำหนด เช่นทุก 1 เดือน 3 เดือน เพื่อป้องกันการแฮกข้อมูล หรือการใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะแล้วลืม Log out ออกจากระบบ

หลอกให้โอน มีช่องทางไหนที่ต้องระวังบ้าง

  • การปลอม หรือ แฮก Facebook มิจฉาชีพจะทำการปลอมหรือแฮก Facebook ญาติ เพื่อน คนรู้จักของเรา ทำทีว่ากำลังเดือดร้อน ขอความช่วยเหลือยืมเงินก่อน โดยให้โอนมายังบัญชีที่อ้างตัวว่าเป็นของบุคคลที่ 3
  • การส่งลิงค์หรือข้อความหลอกลวง มิจฉาชีพจะทำการส่งลิงค์หรือข้อความลวง ให้เรากรอกข้อมูลต่างๆ เช่น เลขบัตรประจำตัวประชาชน เลขบัตรเครดิต บัญชีธนาคาร รหัส ATM เพื่อนำข้อมูลไปโจรกรรมเงินของเราต่อไป
  • หลอกว่าเราได้รับรางวัล มรดกต่างๆ มิจฉาชีพจะทำการแจ้งว่าเราได้รับรางวัลหรือเงินมรดก จากต่างประเทศ โดยหากจะรับรางวัลดังกล่าวต้องโอนเงินเพื่อชำระค่าดำเนินการ หรือภาษีต่างๆ ก่อนจึงจะโอนเงินให้
  • นำสินค้าปลอมมาแอบอ้าง หรือหลอกให้โอนมัดจำสินค้า มิจฉาชีพจะทำเหมือนเป็นพ่อค้าออนไลน์ แต่ไม่ได้มีสินค้าจริงนำรูปสินค้าอื่นๆ มาแอบบอ้างแล้วหลอกให้เราโอนเงินหรือมัดจำเพื่อชำระสินค้า หลังจากได้เงินแล้วก็จะบล๊อคเฟส แล้วหนีหายไปซึ่งวีธีนี้เป็นวิธีที่เหยื่อนโดนหลอกกันมาก
  • ประกาศรับสมัครงานเสริม งานพาร์ทไทม์ มิจฉาชีพจะทำทีเป็นนายจ้างประกาศหาคนทำงานเสริม หรือรับงานไปทำที่บ้าน แต่เมื่อตกลงจะให้โอนเงินมาเพื่อชำระค่าวัตถุดิบ หรือเป็นค่าธรรมเนียมการสมัครต่างๆ เมื่อได้เงินแล้วจะบล๊อคเฟซบุ๊ก แล้วหนีหายไป

ไหนดี Champ

แชมป์ (Champ) ผู้ที่อยู่ในวงการการเงิน และเศรษฐศาสตร์ มีความชอบในการเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้กับผองเพื่อนและคนรู้จัก เกิดมาเป็นการนำมาเผยแพร่ทางเลือกดีๆในสาธารณะ จบการศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ ปัจจุบันร่วมเป็นหนึ่งในนักเขียนประจำเว็บไซต์ไหนดี

ไหนดี
Logo