ข้อดี ข้อเสีย ของ คลินิกแก้หนี้ SAM โครงการดี ๆ ป้องกันหนี้เสีย

การเป็นหนี้เป็นสิน อาจเป็นสภาวะที่หลายคนไม่อยากจะเจอในชีวิตแต่ในเมื่อสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตพาเราไปถึงจุดที่ต้องกู้ยืมเงินคนอื่นมาใช้จ่ายทั้งในรูปแบบของ สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด ซึ่งหายคนสามารถชำระผ่อนจ่ายคืนได้ตามปกติ แต่ยังมีอีกหลายคนที่ไม่สามารถผ่อนชำระคืนได้ ทำให้เกิดภาวะหนี้เสียหรือ NPL ขึ้นซึ่งก่อให้เกิดผลเสียตามมามากมาย ทั้งถูกเจ้าหนี้ฟ้องร้อง ถูกยึดทรัพย์ หรือส่งผลต่อเครดิตของเราเองในอนาคต ด้วยเหตุผลนี้เองทางธนาคารแห่งประเทศไทย และสามาคมธนาคารไทยจึงได้จัดทำโครงการร่วมกันที่ชื่อว่า “คลินิกแก้หนี้” เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น

คลินิกแก้หนี้คืออะไร ?

คลินิกแก้หนี้เป็นโครงการโดยความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทยก่อตั้งคลินิกแก้หนี้ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้เสีย ประเภทหนี้ส่วนบุคคลไม่มีหลักประกันของลูกหนี้รายย่อย (หนี้บัตรเครดิต,หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล) โดยทำการมอบหมายให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท (บสส.) SAM เป็นตัวกลางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาระหว่างธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้ และลูกหนี้รายย่อยทั่วไป

คลินิกแก้หนี้มีวิธีการดำเนินการอย่างไร ?

  1. เป็นตัวกลางในการเจรจารระหว่างธนาคารเจ้าหนี้ และลูกหนี้เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้เสีย NPL ร่วมกัน
  2. ให้คำแนะนำและวางแผนการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้
  3. ทำการรวมหนี้ของลูกหนี้เป็นก้อนเดียวกับเจ้าหนี้รายเดียว ผ่อนชำระต่ำ ดอกเบี้ยถูก
  4. ให้ความรู้กับลูกหนี้เพื่อไม่ให้กลับไปสู่วงจรการเป็นหนี้ซ้ำอีก

เกณฑ์การสมัครเข้าร่วมโครงการคลินิกแก้หนี้ ?

  1. เป็นบุคคลอายุ 20 – 70 ปีบริบูรณ์
  2. มีรายได้แน่นอน
  3. เป็นหนี้เสียบัตรเครดิต , บัตรกดเงินสด , สินเชื่อส่วนบุคคล
  4. เป็นหนี้เสีย NPL (ค้างชำระเกิน 91-120 วันก่อน 1 กุมภาพันธ์ 2564)
  5. ยอดหนี้รวมกับสถาบันการเงินทุกธนาคารต้องไม่เกิน 2 ล้านบาท
  6. ยินยอมทำตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ทางคลินิกแก้หนี้กำหนด

ข้อดี – ข้อเสีย ของ คลินิกแก้หนี้ ?

ข้อดี ข้อเสีย
1. รวมหนี้ได้เป็นก้อนเดียว 1. ต้องเป็นหนี้เสีย NPL เท่านั้น (ขาดส่งเกิน 90 วัน)
2. ผ่อนชำระต่ำ ดอกเบี้ยถูก 2. ไม่ครอบคลุมถึงหนี้นอกระบบ
3. มีเจ้าหน้าที่ให้ความรู้ด้านการปลดหนี้
4. ผ่อนชำระได้ถึง 10 ปี

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าคลินิกแก้หนี้นั้น มีข้อดีมากมาย เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังเป็นกังวลในเรื่องของความสามารถในการชำระหนี้ของตนเอง โดยเมื่อรู้ตัวว่าหนี้สินของตนเป็นหนี้เสียแล้ว ควรรีบติดต่อเข้าร่วมโครงการเพื่อขอความช่วยเหลือ และหาทางปลดหนี้ร่วมกันกับคลินิกแก้หนี้ต่อไปเพราะการเข้าโครงการดังกล่าวนอกจาก จะมีระยะเวลาการผ่อนชำระได้ยาวนาน ดอกเบี้ยถูก และรวมหนี้เราเป็นก้อนเดียวทำให้ปลดหนี้ได้รวดเร็วขึ้น  นอกจากนี้ยังทำให้ท่านไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการฟ้องร้อง ยึดทรัพย์ หรือกลายเป็นบุคคลล้มละลาย เพราะไม่สามารถชำระหนี้ได้

สถาบันทางการเงินหรือธนาคารไหน เข้าร่วมโคลินิกแก้หนี้บ้าง?

ในปัจจุบันมีธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินในประเทศไทยเข้าร่วมโครงการกับทางคลินิกแก้หนี้มากกว่า  33 แห่งได้แก่

  1. กลุ่มประเภทธนาคาร
    1. ธนาคารกรุงเทพ
    2. ธนาคารออมสิน
    3. ธนาคารกสิกรไทย
    4. ธนาคาร TTB
    5. ธนาคาร CIMB
    6. Citi bank
    7. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
    8. ธนาคารไทยเครดิต
    9. ธนาคารทิสโก้
    10. ธนาคาร ICBC
    11. ธนาคาร LH Bank
    12. ธนาคารไทยพาณิชย์
    13. ธนาคาร UOB
    14. ธนาคาร Bank of China
    15. ธนาคารกรุงไทย
  2. กลุ่มประเภทสถาบันการเงินอื่น
    1. บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด
    2. บริษัท เจนเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด
    3. บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด
    4. บริษัท เทสโก้ คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด
    5. บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์(ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
    6. บริษัท อีซี่ บาย จำกัด (มหาชน)
    7. บริษัท ซิตี้คอร์ปลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
    8. บริษัท พรอมิส (ประเทศไทย) จำกัด
    9. บริษัท ซัมมิท แคปปิตอล จำกัด
    10. บริษัท ไอร่า แอนด์ ไอฟุล จำกัด (มหาชน)
    11. บริษัท ไอทีทีพี จำกัด
    12. บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)
    13. บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
    14. บริษัท เจ ฟินเทค จำกัด
    15. บริษัท แมคคาเล กรุ๊พ จำกัด (มหาชน)
    16. บริษัท จี แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)
    17. บริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
    18. บริษัท นครหลวง แคปปิตอล จำกัด (มหาชน)

ไหนดี Champ

แชมป์ (Champ) ผู้ที่อยู่ในวงการการเงิน และเศรษฐศาสตร์ มีความชอบในการเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้กับผองเพื่อนและคนรู้จัก เกิดมาเป็นการนำมาเผยแพร่ทางเลือกดีๆในสาธารณะ จบการศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ ปัจจุบันร่วมเป็นหนึ่งในนักเขียนประจำเว็บไซต์ไหนดี

ไหนดี
Logo