ทำบัตร ATM กสิกร, SCB, กรุงไทย,TMB บัตรไหนดี 2564 มีแบบไหนบ้าง

บัตรเอทีเอ็ม หรือบัตรเดบิต เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวันไปแล้วก็ว่าได้ เพื่อความสะดวกในการกดเงินสด ซึ่งเกิดเป็นคำถามว่าสมัครบัตรเดบิต ใช้ของธนาคารไหนดี มีแบบไหนให้เลือกบ้าง มาดูกันว่าบัตรเดบิต ATM กสิกร, บัตรเดบิต SCB และบัตรเดบิตกรุงไทย มีแบบไหนน่าสนใจบ้าง แล้วมีค่าธรรมเนียมบัตรเท่าไหร่ รวมทั้งกดเงินได้วันละ เท่าไหร่

บัตรเดบิต ATM กสิกร (KBank)

บัตรเดบิตกสิกร (บัตร atm กสิกร) มีอยู่หลายแบบให้เลือกเลยทีเดียวตั้งแต่บัตร ATM กสิกร ธรรมดาที่สุด ไปจนถึงบัตรที่เพิ่มโปรโมชั่น เพิ่มประกัน หรือเพิ่มฟังค์ชั่นให้ใช้ชีวิตง่ายขึ้นโดยใช้ขึ้นรถไฟฟ้าได้ด้วย แล้วทําบัตร atm กสิกรเท่าไหร่? สำหรับบัตร ATM กสิกรรายปีก็จะมีหลายหลายตั้งแต่ 250 บาทต่อปีไปจนถึง 800 บาทเลยก็มี ส่วนค่าธรรมเนียมแรกเข้าเริ่มต้น 100 บาท ดังนี้

เริ่มต้นด้วยบัตร ATM กสิกรธรรมดาที่สุดกับบัตรเดบิตกสิกรไทย (K-Debit Card) ที่จะประหยัดมากที่สุดเลยเพราะมีค่าธรรมเนียมรายปีที่ 250 บาทเท่านั้น (แรกเข้า 100 บาท) สามารถใช้กด ATM รวมทั้งใช้บัตรเดบิตเพื่อรูด หรือซื้อของออนไลน์ได้ (โดยสมัคร Verified by VISA) นอกจากนี้ยังใช้ต่างประเทศเพื่อกด ATM ได้ที่ตู้เอทีเอ็มที่มีสัญลักษณ์ Plus และ Visa

นอกจากนั้นจะมีบัตรเดบิต เค มาย (K My Debit Card) ที่จะเพิ่มโปรโมชั่นส่วนลดต่างๆมาให้เช่นรับส่วนลด Grab 50 บาท รวมทั้ง GrabFood 100 บาท (แต่โปร Grab เมื่อดูที่เงื่อนไขเหมือนบัตรที่ค่าธรรมเนียม 200 ก็ใช้ได้เช่นกัน), รับส่วนลดดูหนัง Major เหลือ 100 บาท และส่วนลด SF โดยมีค่าธรรมเนียมบัตร atm กสิกร เค มาย แรกเข้าที่ 100 บาท และรายปี 300 บาท ลืมบอกไปว่าใช้ต่างประเทศกด ATM ได้เช่นกัน

ซึ่งนอกจากนั้นธนาคารกสิกรไทยก็จะมีบัตรกสิกร เค แม็กซ์ พลัส (K-Max+ Debit Card Visa) ที่เพิ่มประกันอุบัติเหตุเข้าไปในวงเงินคุ้มครอง 200,000 บาท มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า 100 บาท รายปีที่ 700 บาท

หรือบัตร กสิกร แมงมุม วีซ่า ที่สามารถใช้เดินทางรถไฟฟ้า MRT ได้ด้วย โดยมีค่าธรรมเนียมบัตร ATM กสิกร แมงมุมแรกเข้า 150 บาท รายปีละ 250 บาท

และบัตร journey กสิกร ที่นอกจากจะใช้กด ATM ในประเทศได้แล้วยังให้อัตราแลกเปลี่ยนพิเศษในการใช้งานต่างประเทศ มีค่าธรรมเนียมรายปี 550 บาทและ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 700 บาท (หากสนใจใช้ต่างประเทศลองดูบัตร SCB Planet เป็นอีกทางเลือกครับ จะใช้กด ATM ในไทยไม่ได้ แต่ใช้ที่ต่างประเทศโอเคเลย อ่านต่อหัวข้อด้านล่าง)

นอกเหนือจากบัตรที่กล่าวมาด้านบนก็จะมีบัตรเดบิตอื่นๆ เช่นบัตรเดบิต Blackpink, บัตรเดบิต Madcard, บัตรเดบิตประจำจังหวัดและบัตร K Ducati (ดูรายละเอียดเปิดบัญชีพร้อมบัตรเดบิตที่ เปิดบัญชีกสิกรกี่บาท พร้อมบัตรเท่าไหร่)

ส่วนคำถามว่าบัตร ATM กสิกรสามารถกดเงินได้วันละเท่าไหร่นั้น บัตร K Debit สามารถกดเงินสดสูงสุดทั่วโลกที่ 200,000 บาท/วัน ที่ตู้เอทีเอ็มที่มีสัญลักษณ์ Plus และ Visa

บัตรเดบิต ATM SCB (ไทยพาณิชย์)

บัตรเดบิต SCB (บัตร ATM ไทยพาณิชย์) มีอยู่ 5 แบบด้วยกัน ซึ่งก็จะมีค่าธรรมเนียมบัตร ATM ไทยพาณิชย์รายปีที่แตกต่างกันเลย โดยมีค่าธรรมเนียมรายปีตั้งแต่ที่ 200 บาทไปจนถึง 1599 บาทเลยก็มี และมีค่าแรกเข้าบัตรอยู่ที่ 100 บาท ตามรายละเอียดดังนี้

โดยบัตรเดบิต scb แต่ละใบนี้ก็จะมีข้อแตกต่างกันหลายอย่างเช่นส่วนลดร้านค้า, การคุ้มครองประกันอุบัติเหตุ และการคุ้มครองประกันสุขภาพ

ซึ่งหากต้องการบัตร atm ไทยพาณิชย์พื้นฐานที่สุดก็จะแนะนำเป็นบัตรเดบิต SCB M Visa โดยจะมีค่าธรรมเนียมรายปีอยู่ที่ 200 บาท โดยถ้าเป็น scb m จะได้ส่วนลด 5% ของการใช้จ่ายที่ห้างในเครือเดอะมอลล์กรุ๊ป หรือที่กรูเมต์ มาร์เก็ต, โฮม เฟรช มาร์ท และสามารถสะสมคะแนน M Point ได้โดย ทุก 25 บาทได้ 1-2 คะแนน หรือได้ 6 คะแนนเลยเมื่อช็อปในวันเกิด หรือถ้าไม่ได้ใช้ส่วนลดเหล่านี้ก็เลือกใช้เป็นบัตรเดบิต เอส สมาร์ท (SCB S Smart Mastercard) ก็ได้ซึ่งเป็นบัตร ATM ไทยพาณิชย์ ที่ครอบคลุมใช้ต่างประเทศในการกดเงิน

นอกจากนี้ก็จะมีบัตรที่เสริมความคุ้มครองให้อย่างเช่นบัตรเดบิต เอส สมาร์ท พลัส (SCB S Smart Plus) ที่จะมีค่าธรรมเนียมบัตร ATM ไทยพาณิชย์รายปีเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 599 บาท แล้วได้ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ สูงสุดอุบัติเหตุละ 5,000 บาทให้ พร้อมวงเงินคุ้มครองอุบัติเหตุสูงสุด 100,000 บาท และยังใช้กดเงินที่ต่างประเทศได้ด้วย

หรือถ้าต้องการให้อุ่นใจกว่านี้ก็จะมีบัตรเดบิต เอส สมาร์ทเอ็กซ์ตร้า พลัส  (SCB S Smart Extra Plus) ที่มีเงินชดเชยรายได้ ถ้าต้องแอดมิตโรงพยาบาลจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยวันละ 500 บาท (สูงสุด 30 วันต่อครั้ง รวม 90 วันต่อปี) และมีวงเงินรักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุสูงสุด 5,000 บาทต่ออุบัติเหตุให้ด้วย โดยมีค่าธรรมเนียมรายปีที่ 999 บาท ส่วนบัตรเดบิต เอส สมาร์ท ซูเปอร์ พลัส (SCB S Smart Super Plus) ที่มีค่าธรรมเนียมบัตร ATM ไทยพาณิชย์รายปีที่ 1599 บาทนั้นก็จะมีวงเงินคุ้มครองสูงขึ้น

โดยการสมัครบัตรเดบิต ATM ไทยพาณิชย์ (SCB) นี้ก็จะต้องมีบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์อยู่ด้วย อ่านต่อได้ที่ เปิดบัญชีไทยพาณิชย์ ขั้นต่ำกี่บาท ซึ่งปัจจุบันก็มีโปรการใช้จ่ายออนไลน์กับบัตรเดบิตไทยพาณิชย์ด้วย เช่นโปรลดราคา Grab

ส่วนคำถามว่าบัตร ATM SCB กดเงินได้วันละเท่าไหร่นั้น ข้อมูลจากบัตร SCB M สามารถถอนเงินสูงสุดที่วงเงินเบื้องต้น 20,000 บาทต่อวันและสามารถปรับเพิ่มวงเงินเป็นสูงสุดที่  500,000 บาท/วัน โดย

บัตรเดบิต ATM กรุงไทย

บัตร ATM กรุงไทย แบบธรรมดาสุดก็คือบัตรเดบิตกรุงไทยคลาสสิค ที่ให้คุณกด ATM และใช้รูทซื้อสินค้าออนไลน์ได้ โดยมีค่าธรรมเนียมแรกเข้าที่ 100 บาท และค่าธรรมเนียม บัตร ATM กรุงไทยคลาสิค รายปีที่ 200 บาท

ตามมาด้วยบัตรเดบิตกรุงไทยเพิร์ลซึ่งเป็นบัตร ATM กรุงไทย (KTB) + ประกัน ค่าบัตรรายปีปีละ 599 บาท (แรกเข้า 100.-) โดยมีวงเงินคุ้มครองอุบัติเหตุสูงสุด 100,000 บาทและรับวงเงินคุ้มครองอุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์อีกสูงสุด 30,000 บาท

นอกจากนั้นก็มีบัตร บัตรเอทีเอ็ม บลูไดมอนด์ เอ็กซ์ตร้า ที่มีค่าธรรมเนียม บัตร ATM กรุงไทยอยู่ที่ 999 บาท (แรกเข้า 100.-) โดยมีความคุ้มครองอุบัติเหตุ ชดเชยรายได้ โดยไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า และจ่ายค่ารักษาพยาบาล

ปิดท้ายด้วยบัตรเอทีเอ็ม กรุงไทย 1599 บาท (แรกเข้า 100.-) ที่เป็นบัตรที่มีคุ้มครองภัยอุบัติเหตุทั่วโลก ค่ารักษาพยาบาลสูงสุดครั้งละ 20,000 บาท และมีวงเงินคุ้มครองของที่ซื้อด้วยบัตรสูงสุด 35,000 บาทปีละ 2 ชั้น และคุ้มครองการถูกโจรปล้นเงินเมื่อถอนเงินจากตู้ ATM ภายใน 30 นาทีอีกด้วย

เพิ่มเติมด้วยบัตรแมงมุมกรุงไทย (KTB) ที่ใช้เดินทาง MRT ได้ด้วยโดยมี ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 100 บาท ค่าธรรมเนียมรายปี 299 บาท อ่านต่อที่ เปิดบัญชีกรุงไทยกี่บาท ใช้เอกสารอะไรบ้าง

บัตรเดบิต ATM ออมสิน

บัตรเดบิตออมสิน มีให้สมัครหลายแบบเช่นกันซึ่งถ้าเน้นประหยัดใช้แบบพื้นฐานที่สุดก็สามารถสมัครเป็น บัตรออมสิน วีซ่า เดบิต (บัตร ATM ออมสินวีซ่า – บัตรแรกในรูป เป็นลายดอกไม้ 77 จังหวัด) หรือ บัตรออมสิน เดบิต มาสเตอร์การ์ด (บัตรที่สองในรูป) ก็ได้ เพราะมีค่าออกบัตร 100 บาทและค่าธรรมเนียม บัตร atm ออมสินรายปีอยู่ที่ 200 บาทเท่านั้น

ซึ่งก็ใช้ถอนเงินที่ตู้ ATM ธนาคารออมสินและทุกเครื่องทั่วโลก ที่มีเครื่องหมาย ATM Pool, Visa, Plus นอกจากนี้ยังใช้ซื้อสลากออมสินพิเศษผ่านเครื่อง ATM ธนาคารออมสินได้ด้วย

บัตรเดบิต ATM TMB

บัตร TMB จะมีบัตร ATM ของบัญชี TMB All Free โดยมีอัตราค่าธรรมเนียมแรกเข้าในการเปิดบัญชี 350 บาท และค่าธรรมเนียมรายปี 250 บาท (เว้นแต่ได้ยกเว้น) ซึ่งหมายความว่าถ้าเราเปิดบัญชี All Free ก็จะได้บัตร ATM มาด้วยเลย ในขณะที่บัญชี TMB All Fix จะไม่มีบัตร ATM และไม่สามารถทำได้

ในขณะเดียวกันถ้าต้องการยกเลิกบัตร TMB All Free ก็จะต้องปิดบัญชี TMB All Free ด้วยเนื่องจากว่าบัญชีและบัตรนั้นมาด้วยกัน

ส่วนคำถามว่าบัตร ATM TMB กดเงินได้วันละเท่าไหร่นั้น บัตร TMB All Free กดเงินสดได้ทั่วโลก สูงสุด 200,000 บาท/บัตร/วัน

บัตรเดบิตใช้ต่างประเทศ แลกเงินถูก

อีกหนึ่งคำถามยอดฮิตคือบัตรเดบิต ใช้ต่างประเทศ ธนาคารไหนดี ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีบัตรสำหรับใช้ต่างประเทศออกมาหลายชนิด แต่บัตรที่เราอยากจะแนะนำก็จะมี บัตร PLANET SCB, บัตร TMB All Free และบัตร KBank Journey

เริ่มด้วยบัตร PLANET SCB ที่เราแนะนำที่สุดซึ่งที่จริงทางธนาคารไม่ได้เรียกว่าเป็นบัตรเดบิต แต่เรียกว่าเป็นบัตรเติมเงิน แต่ก็สามารถใช้งานคล้ายๆบัตรเดบิตเลยทั้งรูดที่ไทยและต่างประเทศ ใช้จ่ายออนไลน์ แตกต่างที่จะสามารถกดเงินATM ได้เฉพาะที่ต่างประเทศเท่านั้น และก็จะต้องโอนเงินจากบัญชีปกติเข้าไปในบัญชีของบัตร Planet เพื่อใช้งาน

ข้อดีที่แนะนำบัตร Planet จากไทยพาณิชย์ก็เพราะว่า

  • ใช้แลกเงินได้ 13 สกุลเงินต่างประเทศ
  • ได้เรทแลกเงินใกล้เคียงหรือถูกกว่าร้านแลกเงินสีเขียวชื่อดัง
  • ไม่คิดค่าธรรมเนียมการรูทต่างประเทศ 2.5%
  • สามารถแลกเงินล่วงหน้าไว้ในกระเป๋าเงินออนไลน์ได้ หรือจะแลกออนไลน์ตอนที่กำลังจะใช้เลยก็ยังได้
  • สะดวกในการใช้งาน แลกเงินออนไลน์แล้วก็กดเงินสกุลต่างประเทศที่ตู้ ATM ได้เลยทันที
  • ฟรีค่าธรรมเนียมรายปี จึงสามารถทำไว้ก่อนให้อุ่นใจเวลาจะใช้จะได้มีใช้ก็ได้ ไม่ใช้ก็ไม่เสียอะไร

ข้อเสียอย่างนึงคือถึงแม้จะใช้จ่ายในประเทศได้ แต่บัตร Planet SCB จะใช้เป็นบัตร ATM สำหรับกดเงินสดในประเทศไม่ได้

ซึ่งถ้าใครสนใจบัตร Planet SCB ก็สามารถสมัครเองได้เลยผ่านแอพ SCB EASY สามารถอ่านรายละเอียดของบัตร PLANET SCB และวิธีสมัครได้จากบทความที่เราทำแยกไว้สามารถอ่านต่อได้ที่ รีวิวบัตร Planet SCB และ ทดลองเทียบอัตราแลกเปลี่ยนบัตร Planet กับร้านแลกเงิน

ส่วนนอกจากบัตร Planet SCB แล้วก็จะมีอีกหลายบัตรเดบิตใช้ต่างประเทศเลย อย่างบัตรเดบิต TMB All Free บัตร TMB All Free นี้จะสามารถใช้เป็นบัตร ATM ในประเทศได้ และก็ยังสามารถใช้ต่างประเทศโดยไม่ชาร์จ 2.5% โดยจะต้องมีบัญชี TMB ประเภท TMB All Free ก่อนจึงจะได้บัตร

ข้อดีถ้าเทียบกับบัตร Planet เลยก็คือใช้ในประเทศได้นี้แหละครับ แต่ข้อเสียคือมีค่าธรรมเนียมรายปีการใช้บัญชี TMB ALL Free และมีข้อมูลมาว่าเป็นเรทแลกเงินของ VISA ซึ่งมักจะสูงกว่า และก็ไม่สามารถแลกเงินเก็บไว้ก่อนได้

ข้อดีอีกอย่างของบัตร TMB ALL Free คือมีระบบ Paywave ที่ใช้แทนตั๋วโดยสารในต่างประเทศได้ด้วย เช่นแทนตั๋ว Mass Transit ใน UK, อิตาลี, สเปน (บาร์เซโลน่า), นอร์เวย์ (Oslo), ซิดนีย์ เป็นต้น

ปิดท้ายด้วยบัตรเดบิต KBank Journey ที่ใช้เรทอ้างอิงเป็นเรทพิเศษของ K Bank+เรท VISA และไม่ชาร์จ 2.5% เช่นกัน สามารถแลกเงินได้ถึง 28 สกุลเงินเลย

ซึ่งถึงแม้ว่าบัตร Journey นี้จะมีค่าธรรมเนียมแรกเข้าอยู่ที่ 700 บาท  เก็บค่าธรรมเนียมรายปี 550 บาท โดยจะมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมปีแรก แต่บัตร Journey นี้ก็สามารถกดเงินสดจากตู้ ATM ในประเทศได้

ที่มา บัตร SCB M, บัตร SCB S Smart, บัตร SCB S Smart Plus, ค่าธรรมเนียมบัตร SCBบัตรเดบิตกสิกรไทย, บัตรเคมาย กสิกร, บัตร Journey กสิกร, ค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็ม/เดบิตกสิกรประกาศ 3 มกราคม 2563บัตรกรุงไทย, บัตรธนาคารกรุงไทย, อัตราค่าธรรมเนียมกรุงไทยประกาศ 3 กุมภาพันธ์ 2563, อัตราค่าธรรมเนียมบัตรธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศ 23 กรกฎาคม 2562บัตรออมสินมาสเตอร์การ์ด, บัตรออมสินวีซ่า

ไหนดี Champ

แชมป์ (Champ) ผู้ที่อยู่ในวงการการเงิน และเศรษฐศาสตร์ มีความชอบในการเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุดให้กับผองเพื่อนและคนรู้จัก เกิดมาเป็นการนำมาเผยแพร่ทางเลือกดีๆในสาธารณะ จบการศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ ปัจจุบันร่วมเป็นหนึ่งในนักเขียนประจำเว็บไซต์ไหนดี

ไหนดี
Logo