เงินไม่พอ เรียนต่อไม่ได้ จะไม่ใช่เหตุในการทำลายความฝันของการเรียนหนังสืออีกต่อไป เมื่อ กยศ หรือกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเปิดให้ผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการเรียนต่อ กู้ กยศ ได้ด้วยดอกเบี้ยต่ำ และผ่อนชำระหนี้ได้นาน
วงเงิน กยศ. ได้เท่าไหร่
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เปิดให้กู้ กยศ ได้ในอัตราดอกเบี้ยร้อนละ 1 ต่อปีเท่าน้ัน ภายใต้ระยะเวลาผ่อนชำระสูงถึง 15 ปี มีให้กู้ในวงเงินค่าเล่าเรียน และวงเงินค่าครองชีพ เริ่มยื่นกู้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 เป็นต้นไป ดังนี้
กลุ่มที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ให้กู้เรียน ม.ปลายได้ 14,000 บาท และค่าครองชีพไม่เกิน 21,600 บาทต่อปี ส่วนกลุ่มประกาศนียบัตรขึ้นไป ได้ตั้งแต่ 21,000-2 แสนบาท ตามประเภทสาขาและระดับชั้นเรียน พร้อมค่าครองชีพ 36,000 บาทต่อปี ดังภาพ
- ม. ปลาย 14,000 บาทต่อปี (ยังไม่รวมค่าครองชีพ)
- ปวช. 21,000 บาทต่อปี (ยังไม่รวมค่าครองชีพ)
- ปวท/ปวส. 25,000-30,000 ตามคณะ (ยังไม่รวมค่าครองชีพ)
- ปริญญาตรี 60,000-200,000 ตามคณะ (ยังไม่รวมค่าครองชีพ) ดังภาพ
นอกจากนี้กลุ่มกู้ยืมเงินตามความต้องการสาขาวิชาหลัก ต่อความจำเป็นในการพัฒนาประเทศ ให้กู้ค่าเล่าเรียน ปวท/ปวสขึ้นไป ได้ 25,000 บาท – 2 แสนบาท (ที่มา)
คุณสมบัติ
กยศ.เปิดให้กู้สำหรับ 2 กลุ่มคือ ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ หรือ ผู้ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก ดังนี้
กลุ่มผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์
- รายได้ครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาทต่อปี
- เรียนชั้นมัธยมปลาย/ปวส./อนุปริญญา/ปริญญาตรี
- อายุตอนกู้ กยศ. รวมระยะปลอดหนี้ 2 ปี และระยะผ่อนชำระ 15 ปี ได้ไม่เกิน 60 ปี
ส่วนอีกกลุ่มเป็นผู้ศึกษาในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลัก
- ไม่จำกัดรายได้
- กู้ กยศ. สำหรับเรียนในระดับ ปวส./อนุปริญญา/ปริญญาตรี
- ปีที่กู้ กยศ อายุไม่เกิน 30 ปี
โดยทั้งสองกลุ่มจะต้องทำประโยชน์ต่อสังคมหรือสาธาณณะด้วย สามารถอ่านคุณสมบัติฉบับเต็มได้ที่นี้
วิธียื่นกู้ กยศ
ขั้นตอนที่ 1 ยื่นกู้ กยศ ออนไลน์
ลำดับที่ 1 เข้าไปที่ระบบ e-StudentLoan ของนักเรียนนักศึกษา (ลิงค์)
ลำดับที่ 2 กดปุ่ม “ลงทะเบียนเพื่อขอรหัสผ่าน”
ลำดับที่ 3 กรอกข้อมูล ของผู้กู้ยืมให้ครบถ้วน
ลำดับที่ 4 ตั้งรหัสผ่าน (ตัวเลข/ตัวอักษรอย่างน้อย 6 หลัก) และคำถามกันลืม และกดยืนยันลงทะเบียน
ลำดับที่ 5 ตรวจสอบข้อมูลและกดยืนยันการลงทะเบียน
ลำดับที่ 6 เลือกปีการศึกษา ระดับการศึกษาและชั้นปี ที่ต้องการยื่นกู้ กยศ
ลำดับที่ 7 สามารถเข้าสู่ระบบไปในอีก 1 ชั่วโมง เพื่อให้ระบบเช็คข้อมูลกับสำนักทะเบียนราษฎร์
ลำดับที่ 8 เข้าสู่ระบบอีกครั้งเพื่อเช็คข้อมูล และเข้าสู่ขั้นตอนยื่นคำขอกู้ยืมเงินต่อไป (ลิงค์เข้าสู่ระบบ)
ลำดับที่ 9 กรอกแบบยื่นขอกู้ยืมเงินในระบบต่อไป โดยต้องทำภายในกรอบเวลาที่ กยศ กำหนด
ขั้นตอนที่ 2 หลังสมัครยื่นกู้ กยศ ออนไลน์
- ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม กยศ. 101 มากรอกให้เรียบร้อย
- แนบ กยศ. 101 พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องส่งให้สถานศึกษา
- สถานศึกษาพิจารณาคุณสมบัติและสัมภาษณ์ผู้กู้
- สถานศึกษาประกาศรายชื่อผู้ได้รับมีสิทธิ์กู้ ในระบบ e-Studentloan
ขั้นตอนที่ 3 หลังได้รับอนุมัติการกู้ กยศ
- บันทึกการทำสัญญาในระบบ e-Studentloan พร้อมส่งเอกสารสำเนาสมุดบัญชี สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ค้ำประกันและผู้แทน ให้สถานศึกษาตรวจสอบ
- ไปเซ็นชื่อตามที่สถานศึกษานัด
- เข้าไปใส่ค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายในการศึกษาตามจริง ในเว็บ จากนั้นสถานศึกษาจะให้มาลงชื่ออีกครั้ง
- รอรับเงินจากธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โอนเงินค่าครองชีพเข้าบัญชีเราให้ ส่วนค่าเล่าเรียนจะโอนเข้าบัญชีสถานศึกษา
จะเห็นว่าการยื่นกู้ กยศ อาจจะยุ่งยากเล็กน้อย ซึ่งทาง กยศ. ก็ได้แจ้งว่าเพื่อให้เงินที่มาจากงบประมาณแผ่นดิน ภาษีประชาชน รวมถึงเงินชำระหนี้ของผู้กู้ กยศ รุ่นพี่ สามารถจัดสรรไปถึงนักเรียน นักศึกษารุ่นน้องได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเอง