หลังจากที่โควิดทำพิษกระทบเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ทำให้ทางคณะรัฐมนตรีต้องหาทางช่วยเหลือทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ กับโครงการแจกเงินและโครงการปล่อยสินเชื่อมากมาย โดยล่าสุดได้ไฟเขียวสินเชื่อโควิด ภายใต้วงเงิน 2.5 แสนล้านบาท ที่คิดดอกเบี้ยไม่ถึง 2%
โดยในสินเชื่อโควิดรอบนี้จะเป็นสินเชื่อธุรกิจเป็นการออกมาตราการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะ SME ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 ให้ประคับประคองธุรกิจไปต่อได้ ผ่านการเพิ่มสภาพคล่องและลดต้นทุนทางการเงิน และเสมือนเป็นการต่อ พ.ร.ก. Soft Loan ที่กำลังจะหมดอายุลง 19 เมษายนนี้
มาตราการสินเชื่อฟื้นฟู 250,000 ล้านบาท
นโยบายแรกเป็นการช่วยภาคธุรกิจที่มีพื้นฐานดี แต่โดนพิษโควิด19 ให้กู้สินเชื่อที่เหมาะสมได้ เพื่อประคับประคองธุรกิจและยังไม่ต้องเลิกจ้างพนักงาน โดยกำหนดให้มีสินเชื่อ SME ดังนี้
- ถ้ามีวงเงินสินเชื่ออยู่แล้ว กับสถาบันการเงินแต่ละแห่งไม่เกิน 500 ล้านบาท จะกู้เพิ่มได้สูงถึง 30% ของวงเงินสินเชื่อ ในช่วง 31 ธ.ค. 62 – 28 ก.พ. 64 ที่รวมแล้ววงเงินกู้ไม่เกิน 150 ล้านบาท
- ถ้าไม่มีวงเงินสินเชื่อเลย ขอสินเชื่อได้สูงสุด 20 ล้านบาท
- คิดดอกเบี้ยไม่เกิน 2% ต่อปี ใน 2 ปีแรก (รัฐกำหนดเพดานให้ ดอกเบี้ยจริงขึ้นอยู่กับธนาคารกำหนด)
- ดอกเบี้ยทั้งสัญญาเฉลี่ยได้ไม่เกิน 5% ต่อปี
- ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ให้แหล่งทุนกับสถานบันการเงินไปปล่อยกู้ต่อ
โดยกำหนดระยะเวลาค้ำประกันไม่เกิน 10 ปี ที่ภาระชดเชยค้ำประกันสูงสุด 40% ของวงเงินสินเชื่อ คิดค่าธรรมเนียมค้ำประกันเฉลี่ยได้ไม่เกิน 1.75% ต่อปี และรัฐบาลช่วยชดเชยค่าธรรมเนียมนี้เฉลี่ยไม่เกิน 3.5% ต่อปี ตลอดสัญญา
โครงการอื่นๆ ในมาตราการเดียวกัน
นอกจากนี้ก็ได้มีการออกมาตราการพักทรัพย์ พักหนี้ เพื่อต่อเวลาให้กับภาคธุรกิจด้วย ดังนี้
- สนับสนุนให้ภาคธุรกิจไม่ต้องขายทรัพย์สินหลักประกันในราคาต่ำกว่าสภาพความเป็นจริง ให้กลุ่มนายทุน
- ให้สถาบันการเงินรับโอนหลักประกันเพื่อชำระหนี้ แต่ว่ามีข้อตกลงให้ซื้อสินทรัพย์ค้ำประกันนั้นภายหลังตามหลักเกณฑ์ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
- ยกเว้นภาษีการตีโอนทรัพย์ตามมาตราการพักหนี้นี้ และลดค่าธรรมเรีนมการโอนจาก SME ให้สถานบันการเงิน
ระยะเวลา
โครงการนี้มีระยะเวลา 2 ปี และให้ ครม. ขยายอายุโครงการต่อไปได้อีก 1 ปีด้วย ถ้ามีความจำเป็นและมีวงเงินเหลือเพียงพอ
อ้างอิง 1