โลจิสติกส์ หมายถึง กระบวนโดยรวมของการบริหารทรัพยากร (วัตถุดิบ หรือสินค้า) ทั้งการจัดหา, จัดเก็บ, และการขนส่งไปยังปลายทาง ฝ่ายโลจิสติกส์ยังรวมไปถึงการสำรวจหาและประเมินประสิทธิภาพของตัวแทนกระจายสินค้า (Distributors) และ Suppliers หากจะกล่าวง่าย ๆ หน้าที่ของฝ่ายโลจิสติกส์คือ การจัดหาวัตถุดิบ หรือสินค้าตามกำหนด และขอส่งไปยังลูกค้าหรือฝ่ายอื่น ๆ ตรงเวลาและอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
ประเภทของโลจิสติกส์
- โลจิสติกส์ฝ่ายการจัดซื้อวัตถุดิบในการผลิต (Procurement Logistics) คือ กระบวนการที่เริ่มตั้งแต่ขนส่งวัตถุดิบ หรืออุปกรณ์ ที่ได้ซื้อจาก Suppliers โดยกระบวนการนี้ต้องคำนึงถึงต้นทุนของวัตถุดิบ และจัดหาวัตถุดิบให้เพียงพอและทันเวลาการผลิตที่วางแผนไว้
- โลจิสติกส์ฝ่ายผลิต (Production Logistics) เป็นฝ่ายที่เน้นการบริหารจิสติกส์ภายในโรงงานผลิต หรือไซต์งาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บวัตถุดิบการผลิตอย่างถูกวิธี, การเคลื่อนย้ายสินค้าหรือวัตถุดิบภายในโรงงาน และการจัดส่งสินค้ายังศูนย์กระจายสินค้า
- โลจิสติกส์ฝ่ายขาย (Sales Logistics) ในอดีตโลจิสติกส์ฝ่ายขายเป็นการบริหารการจัดส่งสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าหรือโกดังจัดเก็บสินค้าไปยังร้านขายส่งหรือร้านขายปลีก แต่ในปัจจุบัน ยังรวมไปถึงการส่งสินค้าไปยังลูกค้าโดยตรง
- โลจิสติกส์ฝ่ายรีไซเคิล (Recycling Logistics) โดยทั่วไปคือการจัดหาและรีไซเคิลสินค้าใช้แล้วเช่น กระป๋องโลหะ, ขวดแก้ว, ขวดพลาสติก, กระดาษใช้แล้ว, อุปกรณ์อิเล็กโทรนิกเก่า, หรือ กล่องหมึก ปัจจุบันโรงงานหลายแห่งให้ความสำคัญกับการรีไซเคิลมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสร้างความยั่งยืนในการผลิตสินค้า
เทรนธุรกิจโลจิสติกส์ในปี 2023
ในปีที่ผ่านมามีหลายปัจจัยส่งผลต่อธุรกิจโลจิสติกส์ เช่น การระบาดของโควิด-19, สงครามในต่างประเทศ, ค่าเชื้อเพลิงพลังงานที่สูงขึ้น และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ในปี 2023 ได้มีการคาดการณ์เทรนธุรกิจโลจิสติกส์ ดังนี้
- การรวมตัวหรือเทคโอเว่อบริษัทอื่น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราเห็นการเติบโตของภาคโลจิสติกส์ อย่างรวดเร็วไปพร้อม ๆ กับการสั่งสินค้าออนไลน์ ส่งผลให้เกิดบริษัทโลจิสติกส์ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทำใหญ่บริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งต้องรวบหรือซื้อบริษัทโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มผลกำไร
- การขยายตัวของธุรกิจและลงทุนเพิ่ม ด้วยกำลังซื้อที่เริ่มดีขึ้น หลังสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย บริษัทโลจิสติกส์หลายแห่งได้ขยายสาขา และลงทุนสร้างคลังสินค้าอย่างต่อเนื่อง
- นำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาศักยภาพ ด้วยปริมาณสินค้ามากขึ้น และการแข่งขันที่ดุเดือด บริษัทโลจิสติกส์หลายแห่งได้นำ AI มาใช้วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดนโยบาย และ ใช้กลยุทธ์ Digital Transformation ในการพัฒนาบริษัท
ข้อดีของการลงทุนในโลจิสติกส์
- ที่ธุรกิจที่มีความยั่งยืนและสำคัญต่อเศรษฐกิจองค์รวม กล่าวคือแทบธุรกิจจำเป็นต้องมีผู้ช่วยจัดส่งหรือเคลื่อนย้ายสินค้าแทบทั้งสิ้น
- ธุรกิจโลจิสติกส์ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีโอกาสเติบโตได้อย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น หากมีกำลังซื้อในตลาดมากพอ
- เป็นธุรกิจที่สามารถสร้างฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งได้ทั้งลูกค้าธุรกิจหรือลูกค้าทั่วไป ด้วยการให้บริการที่ดี จัดส่งรวดเร็ว และสินค้าอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เมื่อถึงจุดหมาย
จะลงทุนในโลจิสติกส์ได้อย่างไร
- ลงทุนโดยตรง สำหรับคนที่มีหัวทางธุรกิจและเงินทุน สามารถลงทุนทำธุรกิจด้านโลจิสติกส์
- การถือหุ้นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับโลจิสติกส์ มีหลายบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่ทำธุรกิจด้านโลจิสติกส์ที่สามารถซื้อ-ขายหุ้น และยังได้รับผลตอบแทนในรูปเงินปันผลอีกด้วย
- ซื้อกองทุน หรือ Index Fund หากไม่ถนัดซื้อหุ้น หลาย บลจ. มีกองทุนธีมโลจิสติกส์ ให้เลือกลงทุนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ