พันธบัตรรัฐบาล คือการกู้ยืมเงินโดยรัฐบาล ซึ่งตามหลักแล้วจะมีความน่าเชื่อถือสูง ภายใต้ความเสี่ยงที่จะไม่ได้เงินคืนต่ำมากๆ (Risk-Free) โดยผู้ซื้อก็จะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ ส่วนหน่วยงานราชการหรือรัฐบาลก็จะมีสถานะเป็นลูกหนี้นั้นเอง
ใครมีสิทธิ์ซื้อ
โดยปกติแล้วพันธบัตรรัฐบาลจะเปิดให้ประชาชนทั่วไป (สัญชาติไทย) ซื้อได้ทุกคนเลย โดยจะเปิดให้ซื้อตามรอบต่างๆ ตามความต้องการกู้ยืมของรัฐบาล ซึ่งระยะเวลาการฝากก็แตกต่างกันไปตามแต่ละรอบด้วย
ดอกเบี้ย และระยะเวลา
ดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลนั้นมีการปรับเปลี่ยนไปตามแต่ช่วงเวลาดังนี้
รุ่น | ดอกเบี้ย | อายุ |
พันธบัตรออมทรัพย์ ก้าวไปด้วยกัน 2563 26 ส.ค.-11 ก.ย. 63 |
2.22% | 7 ปี |
พันธบัตรออมทรัพย์ รุ่นวอลเล็ต สบม. 25 ส.ค. 63 – 11 ก.ย. 63 |
1.7% | 4 ปี |
พันธบัตรรัฐบาล เราไม่ทิ้งกัน (ปิดวางขาย 10 มิ.ย. 63) |
2%-2.4% (ขั้นบันได) |
5 ปี |
พันธบัตรรัฐบาล ปี 2562 ครั้งที่ 2 | 2.5% 3.05% |
5 ปี 10 ปี |
พันธบัตรรัฐบาล ปี 2562 ครั้งที่ 1 | 2.46% 3% |
3 ปี 1 เดือน 7 ปี 1 เดือน |
พันธบัตรรัฐบาล ปี 2561 ครั้งที่ 2 | 2.15% 3% |
5 ปี 10 ปี |
พันธบัตรรัฐบาล เสียภาษีไหม
การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลนั้นจะได้รับดอกเบี้ย ซึ่งจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาที่อาศัยในประเทศหรือไม่ได้อยู่ในประเทศก็ตาม
ทั้งนี้การลงทุนในสลากออมสิน หรือสลาก ธ.ก.ส. จะได้รับการยกเว้นภาษี
พันธบัตรรัฐบาล ซื้อยังไง
พันธบัตรรัฐบาลนั้น สามารถสั่งซื้อพันธบัตรออนไลน์ผ่านระบบ Mobile Banking ได้เลย เพียงมีแอพของธนาคาร หรือถ้าไม่สะดวกซื้อผ่านแอพก็สามารถติดต่อเคาน์เตอร์ธนาคารแทนก็ได้เช่นกัน ดังนี้ คือ
- แอพธนาคารกรุงเทพ Bualuang mBanking หรือ
- แอพธนาคารกรุงไทย กรุงไทย Next หรือ
- K-My Invest และแอพกสิกรไทย K Plus หรือ
- แอพไทยพาณิชย์ SCB Easy
- และเคยติดต่อสาขาเพื่อลงทะเบียนพันธบัตรก่อนทำรายการซื้อ (ยกเว้นกสิกรไม่ต้องติดต่อสาขาก่อน)