กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยที่เป็นทั้งศูนย์กลางการปกครองและเศรษฐกิจ จึงมีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาอยู่อาศัยกว่า 15 ล้านคน ทำให้มหานครแห่งนี้ จำเป็นต้องมีระบบขนส่งมวลชนที่ทันสมัย เพื่อให้สามารถรองรับกับความต้องการของประชาชนได้ ซึ่งในปัจจุบันการขนส่งระบบรางหรือระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครได้มีการพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมาก
และสำหรับในปี 2565 นี้ ได้มีรถไฟฟ้าสายใหม่ เปิดให้บริการสำหรับพี่น้องประชาชนชาวกรุงเทพมหานครและปริมณฑลกันอีกหนึ่งสาย ซึ่งก็คือ “รถไฟฟ้าสายสีชมพู” วันนี้ ไหนดี จึงพาทุกคนไปทำความรู้จักรถไฟฟ้าสีชมพูกันก่อนใช้บริการ ไปรายละเอียดกันได้เลย
รถไฟฟ้าสายสีชมพู เชื่อมชานเมืองสู่ใจกลางกรุงเทพฯ
รถไฟฟ้าสายสีชมพู คืออะไร?
รถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นโครงการรถไฟฟ้ายกระดับแบบรางเดี่ยว ก่อสร้างเมื่อปีพ.ศ.2563 โดยวิ่งเชื่อมต่อระหว่างมีนบุรี กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก กับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงแคราย มีระยะทางรวมมากกว่า 36.45 กิโลเมตร
หมายเหตุ รถไฟรางเดี่ยว หรือ Monorail เป็นระบบรถไฟที่ตัวรถวิ่งคร่อมหรือแขวนอยู่บนรางอันใหญ่รางเดียว แต่ BTS และ MRT เป็นรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ (Heavy Rail) วิ่งบนรางเหล็กคู่
รถไฟฟ้าสายสีชมพู ระบบรถไฟ Feeder เพื่อคนกรุงฯ
รถไฟฟ้าสายสีชมพู นับเป็นรถไฟฟ้าแบบ Feeder สายที่ 3 ต่อจาก รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่ – เตาปูน) และรถไฟฟ้าสายสีแดง (รังสิต – บางซื่อ, ตลิ่งชัน – บางซื่อ) ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กับคนที่อยู่ในเขตชานเมืองกรุงเทพมหานคร หรือจังหวัดปริมณฑล สามารถเดินทางเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพมหานครได้อย่างสะดวก สบายมากขึ้น
หมายเหตุ Feeder เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มุ่งเน้นการพาคนจากชานเมือง มาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่นที่เข้าสู่ใจกลางเมืองโดยตรง
รถไฟฟ้าสายสีชมพู เปิดเมื่อไหร่ ?
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีชมพู น้องใหม่ของการเดินทางสำหรับชาวกรุงฯ จะเริ่มเปิดให้บริการในเดือนธันวาคมนี้ โดยคาดว่าสถานีที่เปิดให้บริการได้ คือ ตั้งแต่สถานีมีนบุรี – สถานีศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ซึ่งระยะแรกนี้จะเปิดให้บริการประชาชนทดลองนั่งฟรีจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ปีหน้า และจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบทุกสถานีในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2566
รถไฟฟ้าสายสีชมพู ค่าโดยสารเท่าไหร่ ?
เบื้องต้นยังไม่ได้มีการประกาศราคาค่าโดยสารออกมาอย่างเป็นทางการ แต่คาดการณ์ว่าอัตราค่าโดยสารทั้ง 30 สถานี จะอยู่ระหว่าง 15 – 45 บาท
รถไฟฟ้าสายสีชมพู มีสถานีไหนบ้าง ?
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีชมพู จะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบทั้งหมด 30 สถานีเชื่อมกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตกมาฝั่งตะวันออก ตั้งแต่เขตมีนบุรีไปจนถึงแคราย และไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง – บางใหญ่ เตาปูน, สายสีแดง – รังสิต บางซื่อ และสายสีเขียวที่เป็นสายหลัก วิ่งตั้งแต่คูคต ปทุมธานี ผ่านใจกลางกรุงเทพมหานครไปจนถึงสมุทรปราการ
โดยสถานีทั้ง 30 สถานี ของรถไฟฟ้าสายสีชมพู มีดังนี้
อ้างอิงรูปภาพจาก 1